หน้าเว็บ

วันศุกร์ที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2558

ภูที่เลย .. เคยหรือยัง .. ภูหมวก ภูหนอง นาแห้ว (ep.2 / 5 )

ภูหมวก ภูหนอง  บนภูผาหนอง
 
   ลองดู .. ภูเตี้ยๆ ไม่เพลีย แต่เพลิ๊นเพลิน ....
มองพระอาทิตย์ตกจากภูหมวก ที่ค่อยๆลอยลับภูสวนทราย

          นาแห้ว .. เป็นอำเภอที่ชอบเป็นการส่วนตัว และอยากให้ชอบเป็นการส่วนรวมด้วย เนื่องจากมีความพิเศษทั้งประเพณี วิถีถิ่นและธรรมชาติ มาที่นี่ก็หลายครั้ง ผ่านมาก็หลายหน แต่ไม่เคยรู้เลยว่าที่อำเภอนาแห้วแห่งนี้  มีจุดชมวิวที่ไม่สูงมาก แต่มองได้ถึง สามมมมมม...ร้อยยยยยยย..หกสิบองศา !!!!
                มาดูกัน …..


          ภูที่ว่านี้คือ “ภูผาหนอง” ซึ่งเป็นภูเขาดินที่ไม่สูงมาก  เดินจากจุดจอดรถไปเป็นทางลาดและชันเล็กน้อยเพียง 5 นาที ก็จะเริ่มเห็นจุดชมวิวต่างๆ ริมภู เช่น จุดชมวิวผานกเขา ผานกแอ่น ถ้ำเกีย แต่จุดที่แวะคือ จุดชมวิวผาหมวก จุดนี้ มองเห็นพื้นที่เขียวขจีด้านล่างเกือบ 180 องศา กั้นสายตาด้วยเทือกเขาของอุทยานแห่งชาติภูสวนทราย ทางซ้ายคือ เมืองแตน อ.ไชยยะบุรี สปป.ลาว มีแม่น้ำเฮืองเป็นพรมแดน ซึ่งเพียงก้าวกระโดดก็พ้นพรมแดนธรรมชาตินี้แล้ว พระอาทิตย์ตกคือ Hi-light แต่แค่ท้องนาเขียวๆที่เห็น ก็สุดคุ้มแล้ว 
สายน้ำที่เห็นคือ แม่น้ำเฮือง กระโดดข้ามไปก็เป็น สปป.ลาว



         หลายคนเอ่ยปากว่า “ช่างน่ามาจับช้างซะจริงๆ” ช้างในที่นี้คือทาง “กลุ่มดาวทางช้างเผือก” เนื่องจากเป็นทิวทัศน์ที่เปิดโล่ง ตรงที่จอดรถยังมีลานที่สามารถกางเต็นท์ได้ แถมยังมีห้องน้ำให้อย่างสะดวกสบาย 

                จากจุดชมวิวผาหมวก เดินไปอีกสักหน่อย ก็ถึงจุดชมวิวผาหนอง ซึ่งเปิดการมองได้กว้างขึ้นไปอีก คราวนี้ 360 องศา เจ้าหน้าที่เล่าว่าบริเวณนี้มีหนองน้ำเล็กอยู่ด้วย จึงได้ชื่อว่าผาหนอง  ซึ่งมาครั้งนี้ เดินไปไม่ถึงเพราะมาถึงที่นี่เย็นเกินไป จึงเก็บภาพที่ภูหมวกจนค่ำ
เขาด้านหน้าคือผาหมวก ซึ่งเดินไปอีกหน่อยเดียว

          เขาเล่ากันว่าที่นี่ต้องมาหน้าหนาว เห็นหมอกสวยๆ แต่อิฉันว่ามาหน้าไหนก็สวย หมอกฟ้าหน้าฝน นาเขียวเขียว ก็หายใจเต็มปอดแล้ว ....


ติดต่อล่วงหน้า เพื่อความสะดวก :  เทศบาลนาแห้ว 042897285



วันพฤหัสบดีที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2558

ดังแบบงง..งง.. หางดง แกรนด์แคนยอน .. Hang Dong Grand Canyon !!..

           พื้นน้ำสีเขียวใสในพื้นที่กว่า 30 ไร่ สลับกับสันดินแห่งนี้ เกิดจากการสะสมน้ำฝนมาหลายปี ซึ่งเป็นที่ีดินที่ถูกขุดเนื้อดินขาย หากจะเรียกว่าเหมืองดินลูกรังก็คงไม่ผิดนัก และอาจจะสามารถจินตนาการภาพก่อนที่จะเต็มไปด้วยน้ำได้ง่ายขึ้น
         ความลึกโดยเฉลี่ยของ "หางดง แกรนด์แคนยอน" ราว 30 เมตร ซึ่งส่วนใหญ่เป็นแนวดิ่ง ไม่ได้มีพื้นที่ราบใต้น้ำ จะมีเพียงแต่พื้นที่ราบที่ทำเพื่อให้รถบรรทุกสามารถวิ่งลงไปขนดินได้ ซึ่งก็ไม่สามารถกะประมาณได้ว่า ลาดเอียงไปทางไหน .. สรุปคือ  "ลึกสุดใจ" ... หยั่งขาไม่ถึง
     เมื่อหลายปีก่อนเคยมีข่าวนักท่องเที่ยวแอบลงเล่นน้ำที่นี่แล้วเสียชีวิต .. ที่ว่า "แอบ" ก็เพราะว่า หลังจากที่ปล่อยพื้นที่แห่งนี้ร้างกว่า 10 ปี  เจ้าของที่ดินได้ห้ามการเข้ามาก่อนได้รับอนุญาตเนื่องจากเป็นพื้นที่ส่วนบุคคล แต่ถึงแม้จะห้าม แต่ก็ยังมีคนลักลอบเข้ามาเล่นน้ำที่นี่ .. สีเขียวใสของน้ำและทิวทัศน์ของสถานที่ คงจะเย้ายวน จนถึงขั้นอดใจไม่ไหว ขอหย่อยตัวลงไปแช่น้ำให้ชื่นใจ ..

    สุดท้าย !! เมื่อห้ามไม่ได้ ก็เปิดให้เข้ามาเล่นเป็นเรื่องเป็นราวซะเลยละกัน .. ราคาค่าเข้าคนละ 50 บาท และสามารถนำมาแลกเป็นเครื่องดื่มหรือของว่างได้ ... นอกจากนี้ ยังมีบริการให้เช่าเรือยาง ห่วงยาง อาหารว่าง อาหารไม่ว่าง .. บริการอย่างดี
       ที่นี่มีเสน่ห์ตรงความใสของน้ำ แสงอาทิตย์ที่ส่องลงยามบ่ายถ่ายภาพสวยมาก .. นักท่องเที่ยวที่แต่งตัวถูกกาลเทศะ คือ ใส่บิกีนี่ ลงเล่นน้ำ .. เสน่ห์ล้นเหลือจริงๆ

     เวลาที่เหมาะสมคือ ตลอดปีที่อากาศร้อน .. มาเถอะ รับรอง สวย เย็น สบายตา .. ไม่อย่างนั้น 90% ของคนที่มา จะเป็นนักท่องเที่ยวต่างชาติรึ !!!

   หางดงแกรนด์แคนยอน บ้านแพะขวาง อ.หางดง จ. เชียงใหม่  098939858 / 0956853145







 

วันพุธที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2558

ภูที่เลย... เคยหรือยัง .. ภูบ่อบิด : ep. 1 / 5

 ... จังหวัดเลย เป็นจังหวัดที่มีภูมิประเทศ แบบพิเศษ คือ มีภูเขาน้อยๆ โผล่ขึ้นบนแผ่นดินผืนราบ .. ทำให้มีจุดชมทิวทัศน์มากมาย .. ชมนา ชมเมือง ชมดาว ชมพระอาทิตย์ ชมพระจันทร์ ชมจักรวาล .... มารู้จักกันที่ละภู ...

ภูบ่อบิด

ก้าวจนหอบก็ไม่ทันพระอาทิตย์
      ภูบ่อบิด อยู่วนอุทยานภูบ่อบิด เป็นภูเขาสูงที่อยู่ห่างจากตัว อ.เมืองเลย เพียง 3 กิโลเมตร ยอดภูมีความสูงประมาณ 550 เมตร จึงสามารถมองเห็นตัวเมืองเลยได้เป็นมุมกว้าง  จากเชิงเขามีบันไดเดินขึ้นไปจนถึงยอดภู เมื่อเดินขึ้นไปประมาณ 350 เมตร จะพบกับถ้ำพระ เป็นเพิงถ้ำที่มีพระพุทธรูปประดิษฐานอยู่ ชาวบ้านมักขึ้นมาสักการะ และมีจุดชมวิวจุดแรกไว้พักขา  .... 
แสงดาวเริ่มขึ้นแล้ว
จุดชมวิวกลางทาง .. จริงๆแล้วคงเอาไว้ให้พักหายใจ
          มีเรื่องเล่ากันว่า คำว่า “บ่อบิด” มาจากคำว่า “บ่บิด” ซึ่งเป็นคำพูดของหนุ่มที่โดนสาวดุเอาว่าอย่ามาบิด (หยิก) ก้นเธอ ตอนที่ทั้งสองขึ้นมาหาของป่าบนภูนี้ ... ความที่หนุ่มไม่ได้กระทำการนั้นเลยตอบไปว่า  “บ่บิด” ... ก็ไม่ได้บิด จะมาตั๊วได้ไง ..
        พักฟังที่มาของชื่อภูแล้ว ก็เดินต่อ ... ขึ้นบันไดไปเท่าที่ขาก้าวไหว ก้าวที่ละขั้น ชันนิดๆ  สุดท้ายก็ถึง จุดชมวิวเมืองเลย .. ซึ่งจะสวยงามมากโดยเฉพาะเวลาพระอาทิตย์ตก แต่ถ้ามาไม่ทัน ก็ดูดาวแทน 
 ....ดาวบนดินที่เมืองเลยก็สวยดีนะ

เดินแสนง่าย..เพราะเป็นบันไดล้วนๆ
      หากจะมาที่นี่ ฟิตร่างกายมาสักนิดนะ.. เดินง่ายมาก บันไดล้วนๆ ไม่มีต้องตะกาย มีแต่คลาน หรือไม่ก็สาวราว ...  เพราะมันทั้งสูง ทั้งชั้น อิฉันละท้อ....

วันจันทร์ที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2558

หัวโต .. กลองยาว .. รื่นเริงเถิดเทิงแบบไทยไทย ...

การละเล่นหัวโต... ตัวตลกประจำกลองยาว...



... ในงานรื่นเริงของไทยมักจะมีคณะกลองยาว ฉิ่ง ฉับ กรับ ฆ้อง ประกอบกันขึ้นเป็นจังหวะครื้นเครงให้ผู้ร่วมขบวนได้ขยับแข้งย่ำขายกมือย่อเข่าตามท่วงทำนองเป็นที่สนุกสนาน นอกจากมีผู้คนร่วมขบวนแล้วยังมี "หัวโต" ร่ายรำร่วมขบวน คอยหยอกเย้าคนในขบวนและผู้ที่อยู่ระหว่างทาง..


.. หัวโต .. เป็นการประดิษฐ์หมวกครอบหัวขนาดใหญ่ แต่เดิมใช้เป็นโครงไม้ไผ่สาน แล้วนำกระดาษมาปะ เขียนหน้าตาเขียนตาตามจินตนาการว่า... ตลก... เป็นอย่างไร .. ปัจจุบันหัวโตทำจากกระดาษในแบบเปเปอร์มาเช่...มีน้ำหนักเบาและเด็กๆสามารถทำได้ ... ผลงานที่ออกมาจึงหลากหลาย


... ต.จรเข้สามพัน อ.อู่ทอง จ.สุพรรณบุรี ถึงแม้จะเป็นตำบลเล็กๆ แต่ก็จัดงาน "แห่หัวโต" ได้อย่างน่ารัก ครั้งนี้เป็นครั้งที่ 3 (ปี2558) ขบวนหลักคือหัวโตจากเด็กๆ ที่โยกหัวร้องรับ..โห่หิ้ว โห่หิ้ว... จากนั้นเป็นขบวนของกลุ่มชาติพันธุ์ที่มาร่วมงาน ได้แก่ ชาวไทดำ ชาวลาวเวียง ชาวลาวครั่ง และไทยพื้นถิ่น..


... ในใจคิดว่า ไอ้หัวโตเนี่ยะ น่าจะเกิดจาก ... อิฉันอยากเซิ้ง อยากฟ้อน อยากรำ อยากแดนซ์ แต่เขิน เลยทำหน้ากากใส่ซะเลย ...  แต่จริงๆเค้าก็ไม่ได้มีบันทึกว่าหัวโตเกิดมาตั้งแต่เมื่อไหร่ .. เกิดมาก็ทันเห็นแล้ว .. 



  

... ร้อนมากนะอากาศน่ะ ... แต่ความสดใสน่ารักของ ... หัวโตแต่ตัวเด็ก .. ทำให้ร่วมขบวนแห่จนสุดทางลืมร้อนกันไปเลย ....



ชาวไทยดำ
ชาวลาวเวียง
ชาวลาวครั่ง